กดเพิ่มเพื่อน เพื่อคุยกันผ่าน LINE ได้เลยครับ ปุ่มด้านล่าง

เพิ่มเพื่อน

Health information

Herbs

Post Page Advertisement [Top]


            ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานที่สวนสมุนไพรของ Nasuha Herb&Spice ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพร เครื่องเทศ จำหน่ายในมาเลเซีย ที่นี้จะมีโรงงานผลิตและฟาร์มปลูกวัตถุดิบเองในที่เดียว พื้นที่ประมาณ 3,200 เอเคอร์ หรือประมาณ 8,000 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นภูเขา เป็นป่าทึบ โดยทางคณะของอภัยภูเบศรได้นั่งรถชมพันธุ์ไม้ต่างๆ  โดยมีเจ้าหน้าที่คอยบรรยาย รถที่นั่งชมก็ใช้รถไถเป็นหัวลากพ่วงกับที่นั่ง ขึ้นเขาชันๆได้สบาย ก็น่าจะเอามาใช้ที่สวนสมุนไพรอภัยภูเบศรได้เหมือนกัน พืชโดยส่วนใหญ่ก็คล้ายกับประเทศไทย แต่ก็มีบางชนิดที่เป็นพืชท้องถิ่น หรือบางพันธุ์ ก็ไม่มีในไทย วัตถุดิบของที่นี่ก็ใช้แบบ Organic และได้รับรองมาตรฐานจากหน่วยงานต่างๆ โรงงานได้รับ GMP นอกจากนี้ยังได้รับโอกาสที่ดี โดยทาง CEO ของ Nasuha ได้ออกมาให้การต้อนรับด้วยตัวเอง

            ตัวอย่างของสมุนไพรที่มีจำหน่ายก็จะมีทั้งทำเป็นสบู่ น้ำมันนวด ชาสมุนไพร เครื่องดื่มสมุนไพร เช่น Gora (Cola nitida) ต้นโคล่า ทำให้รู้สึกสดชื่น ลดความเหนื่อยล้า , Serico (Strobilanthes crispus) เพิ่มการไหลเวียนของเลือด, ต้านมะเร็ง , Garcinia (Garcinia atroviridis) ต้นส้มแขก ลดน้ำหนัก ช่วยระบบย่อยอาหาร , Allspice pimento (Pimenta dioica) น้ำมันนวดแก้ฟกช้ำ แก้ปวด , Candlenut moluccana(Aluerites moluccana) ใช้เป็น Hair Tonic, Cinnamon (Cinnamomum zeylanicum) เพิ่มการไหลเวียนของเลือด,ขับลม Centella (Centella asiatica) ทำให้ผิวสุขภาพดี นอกจากสมุนไพรแล้วที่นี่ยังทำผงเครื่องเทศสำเร็จรูปซึ่งมีหลายสูตร และยังมีการให้บริการด้านอื่นคือ Herbal restaurant ซึ่งจะเป็นที่นิยมของชาวยุโรปที่มาท่องเที่ยวในมาเลเชียซึ่งทางคณะของเราก็ได้ลองรับประทานอาหารกลางวันแบบพื้นเมืองซึ่งก็จะมีข้าวที่หุงกับสมุนไพร ลักษณะจะเป็นข้าวมันและแข็ง,มัสมั่นไก่และน้ำซุปเครื่องเทศสมุนไพร รสชาติก็กลมกล่อมดีทีเดียว
            นอกจากนี้ยัง Log cabin บนเขาที่ดูน่าพักสำหรับครอบครัวหรือนักท่องเที่ยวที่มาเป็นหมู่คณะ, ห้องฟังการบรรยายเกี่ยวกับสมุนไพร, หอพัก, Tradional massage&Herbal bath, Herbal spa ในส่วนของโรงงาน ก็จะมี Lab ของตัวเอง ,ส่วนของการทำ Essential oil
            โดยที่นี่จะเน้นด้านงานวิจัยสมุนไพร แต่ตำรับจะไม่ใช้แบบภูมิปัญญาดั้งเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงตามประสบการณ์ของเจ้าของเองหรือจากงานวิจัยที่ได้ผล ทำให้ขาดความเป็นเอกลักษณ์และการต่อยอดก็จะเป็นไปได้ยาก ซึ่งกระบวนการจะแตกต่างกับของอภัยภูเบศรที่เราจะพัฒนาตามรากฐานและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีประสบการณ์การใช้มาเป็นเวลานาน โดยที่จะมีงานวิจัยคอยให้การสนับสนุน แต่เป้าหมายก็คือให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี รักษาหรือบรรเทาอาการของโรคได้ และต้องการอนุรักษ์การใช้สมุนไพรให้คงอยู่ต่อไป
           

No comments:

Post a Comment

Bottom Ad [Post Page]